หินแกรนิต คืออะไร

หินแกรนิต เป็นหินประเภทหินอัคนี ซึ่งมีขนาดเม็ดที่ใหญ่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า กระบวนการในการเกิดขึ้นของหินแกรนิต เป็นการตกผลึกอย่างช้าๆ ของหินลาวาใต้พื้นผิวของโลก ซึ่งใช้เวลาหลายร้อยล้านปี ประเทศไทยได้นำเข้าหินแกรนิตส่วนหนึ่งจากประเทศอินเดีย และ นอร์เวย์ นอกจากนั้นหินแกรนิตก็สามารถพบได้หลายบริเวณในประเทศไทย เช่น ภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี  ระยอง  ชลบุรี  ภาคเหนือตั้งแต่จังหวัดเชียงรายจนถึง จังหวัดตาก ภาคใต้แถบบริเวณเขตแดนไทย – พม่า จังหวัดสงขลา  ยะลา  และจังหวัดนราธิวาส โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณสันเขาหรือเชิงเขา ซึ่งหินแกนิตประกอบไปด้วยหินควอตซ์ (Quartz) และ เฟลด์สปาร์ (feldspar) ที่มีส่วนประกอบด้วยแร่ ไมกา (mica),แอมฟิโบล (amphiboles) และแร่ธาตุอื่นๆ ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้จะส่งผลให้หินแกรนิตนั้นมีสีแดง สีชมพู สีเทา หรือสีขาว ที่มีแร่ธาตุสีดำสอดแทรกตลอดทั้งแผ่นหิน

ประโยชน์ของหินแกรนิต

หินแกรนิต เนื่องจากมีเนื้อเหนียวและแข็ง ทนทานต่อการผุสึกกร่อน เนื้อหินเมื่อนำมาตัดเป็นแผ่นเรียบขัดมัน จะมีลวดลายสวยงามมาก จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา นอกจากนี้หินแกรนิตมีเนื้อแข็งจึงนิยมทำครก โดยทั่วไปแล้วหินแกรนิตนั้นมันถูกนิยมนำมาใช้ประดับตกแต่งอาคารสถานที่ซะเป็นส่วนใหญ่ ดังเช่นใช้ในการตกแต่งบ้านซึ่งมักใช้เป็นวัสดุในการทำ เคาท์เตอร์ต่างๆเพราะหินแกรนิตนั้นแข็งแรงรับน้ำหนักได้มาก ดูแลรักษาง่ายจึงเหมาะที่จะนำมาใช้ตกแต่งเป็นเคาท์เตอร์บาร์ เคาท์เตอร์ครัว (ท๊อปครัว)อย่างที่เห็นกันทั่วไปแล้ว ประโยชน์ของหินแกรนิตนั้นยังนำมาใช้สร้างกำแพงเขื่อนที่แข็งแรงรับแรงดันมหาศาล 

การดูและรักษา

หินแกรนิตเป็นหินที่มีความแข็งแกร่งสูง ทนต่อการสัญจรได้ดี การดูแลรักษาจึงสามารถดูแลได้ง่าย ดังนี้

ถ้าต้องการให้มีความเงางามตลอดเวลา ควรเคลือบเงาด้วยน้ำยาชนิดที่เป็นสูตรน้ำ (WATER BASE) สำหรับเคลือบเงาหินแกรนิตเป็นประจำทุกวันเช้าหรือเย็น ในกรณีที่มีเครื่องทำความสะอาดหินหรือปั่นเงา ควรเลือกครีมชนิดที่เป็น SOLVENT BASE ขัดเคลือบหินด้วยการปั่นเงาอย่างน้อยเดือนละครั้ง หรือ ทุก 2 สัปดาห์

รูปภาพหินแกรนิตสีต่างๆ

หินแกรนิตสีชมพู
หินแกรนิตสีขาว ซึ่งจะมีสีดำสอดแทรกอยู่ทั่วหิน
หินแกรนิตสีแดง ที่แบ่งตัดแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป
ชั้นหินแกรนิตที่ถูกตัดแบ่ง